บนโลกใบนี้เต็มไปด้วยหลุมมากมายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำเหมืองแร่ต่างๆ โดยการใช้ระเบิดอันมโหฬารทะลายเปลือกโลก แต่น่าสงสัยเล็กๆ ที่การทำเหมืองมากมายนี้ สร้างความไม่พอใจอย่างมากกับหลายคนซึ่งมันอาจมีผลกระทบกับผิวโลก
อันดับ 10 Kalgoorlie Super Pit
Kalgoorlie Super Pit ชายชาวไอริชชื่อว่า Paddy Hannan เป็นคนแรกที่เห็นแสงระยิบระยับสีทองประกายสะท้อนออกมาในปี 1893 รอยอันมโหฬารนี้อยู่ที่ Western Australia และปัจจุบันเป็นเหมืองทองใหญ่สุดในทวีปที่เปิดอยู่ มีความยาว 3.5 กิโลเมตร กว้าง 1.5 กิโลเมตร และลึก 360 เมตร มันใหญ่และกำลังขยายตัวต่อไป จนอย่างน้อยในปี 2017 เมื่อผลประโยชน์สิ้นสุดลง
แม้ว่าหลุมนี้จะสร้างมลภาวะทางอากาศ ทางเสียง รวมทั้งการสั่นสะเทือน สร้างขยะมากมายจนเป็นปัญหาทะเลาะกันกับประชาชนในบริเวณนั้น แต่อย่างไรก็ตามมันสามารถเอาทองออกมาได้ถึง 30 ตันต่อปี และสร้างงานให้ประชากรถึง 550 คน
อันดับ 9 The Big Hole , South Africa
หลุมลึกนี้อยู่ใน Kimberly, South Africa เรียกได้ว่าเป็นหลุมที่ใหญ่ที่สุดที่ขุดขึ้นด้วยมือ! มันถูกปิดในปี 1914 ในระหว่างอายุ 43 ปีของมัน คนงาน 50,000 คน ได้ใช้พลั่วและเสียมหรืออุปกรณ์อื่นๆขุดพื้นดินบนโลกขึ้นมากว่าล้านตัน ผลผลิตคือเพชรเกือบๆสามตันสำหรับเจ้านายที่เบิกบาน
ตอนนี้ น้ำได้ขังอยู่ในหลุมหมดแล้ว หลุมยักษ์นี้กว้าง 463 เมตร และถูกเจาะลึกลงไป 240 เมตร อย่างไรก็ตามน้ำได้ขังอยู่จนสามารถมองเห็นหลุมลึกไปแค่ 175 เมตร ปัจจุบันได้ถูกฟื้นฟูให้เป็นสิ่งดึงดูดของเมือง
อันดับ 8 Diavik Diamond Mine
Diavik Diamond Mine หรือเหมืองเพชร Diavik อยู่ที่ Canada เป็นการขุดเกาะสี่เหลี่ยม 20 กิโลเมตร และ 220 กิโลเมตรจากขั้นโลกเหนือ ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเยือกแข็ง
การเดินทางโดยถนนที่มีแต่หิมะนั้นอันตราย เป็นเหมืองที่ไกลและยากจะมาถึง ดึงนั้นมันจึงมีสนามบินเป็นของตัวเองและใหญ่พอที่จะจอดโบอิ้ง 747 ได้ ในระยะเวลาอายุช่วง 16-20 ปี เจ้าของมีความสุขมากจนเบื่อเลยทีเดียว หลุมนี้ยังคงดูดเพชร 8 ล้านกระรัต (1600กิโล) ต่อปีขึ้นมาเรื่อยๆ
โปรดติดตามตอนที่ 2 ..
หลุมใหญ่ บนโลกใบนี้ ตอนที่ 1
Posted by
Sunrise
on Nov 10, 2009
Labels:
ภาพสวยงาม,
เรื่องน่ารู้,
เรื่องแปลก
0 comments:
Post a Comment